กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน
ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อสอบข้อ 1 - 5 โดย save โจทย์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำไปลงในบทความบน Blog ของผู้เรียน
อธิบาย    
ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
  ไรโบโซม (ribosome)
         เป็นแหล่งสร้างโปรตีนของเซลล์ เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็กพบในสิ่งมีชีวิตทั่วไป
ประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีิอิก (ribonucleic : RNA) กับโปรตีนอยู่รวมกัน
เรียกว่า ไรโบนิวคลีโอโปรตีน (ribonucleoprotin)   RNA เป็นชนิด ไรโบโซมอล อาร์เอนเอ (ribosomal RNA) ส่วนโปรตีนแตกต่างกันไปตามชนิดของสิ่งมีชีวิต  ไรโบโซมประกอบด้วย หน่วยย่อยขนาดเล็ก และหน่วยย่อยขนาดใหญ่ปกติแยกกันอยู่ และจะมาประกบติดกันเมื่อมีการสังเคราะห์โปรตีน  
    เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane , plasma membrane , plasmalemma )   เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึม พบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ 8.5  - 10 นาโนเมตร กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลทำหน้าที่ รักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่าง

เซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

     ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)
   ไมโทคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกผิวเรียบ ส่วนชั้นในพับเข้าไปด้านใน เรียกว่า คริสตี (cristae)ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix)จำนวนของไมโทคอนเดรียในเซลล์แต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดและ

กิจกรรมของเซลล์ เซลล์ที่มีเมแทบอลิซึมสูงจะมีไมโทคอนเดรียมาก เช่น เซลล์ตับ ไต

กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์ต่อมต่าง ไมโทคอนเดรียมี DNA เป็นของตัวเอง ทำให้ไมโทคอนเดรียเพิ่มจำนวนได้ และสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการทำงานของไมโทคอนเดรียได้
         หน้าที่ของไมโทคอนเดรีย คือ เป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจระดับเซลล์
ในวัฏจักรเครบส์ที่เมทริกซ์ และการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่คริสตี
  เอ็นไซม์
คือโมเลกุลโปรตีนที่มีพลังงานสูง เพื่อใช้ในขบวนการย่อยและเผาผลาญอาหาร ร่างกาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หากขาด “เอ็นไซม์” ร่างกายเราสามารถรับเอ็นไซม์ได้จาก 2 วิธีคือ
1.การรับประทานอาหารสด (ไม่ผ่านความร้อน)เนื่องจากการปรุงอาหารสุกโดยผ่าน “ความร้อน” ทำลาย “เอ็นไซม์”ไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเอ็นไซม์ลดน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่อได้รับเอ็นไซม์ไม่เพียงพอเพื่อการย่อย ก็ทำให้เกิดการหมักเน่าของอาหารตกค้างอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งเป็นบ่อเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
2.การเสริม“เอ็นไซม์สดจากพืช”เป็นการสกัดเอ็นไซม์สดจากพืชเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร
 ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

ที่มา
ตอบ ข้อ 4

อธิบาย
วาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว และลดการหลั่งปัสสาวะเรียกชื่อย่อว่า ADH
      ร้อยละ 70 ของสารในร่างกายคือน้ำ แม้ว่าเราจะดื่มน้ำวันละมากๆ หรือเสียเหงื่อในวันที่มีอากาศร้อนมากๆ แต่ความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายยังปกติ นอกจากการทำงานของไตแล้ว ฮอร์โมนที่สำคัญที่ควบคุมให้ร่างกายมีสารน้ำปกติคือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone)
ที่มา
ตอบ ข้อ 2
อธิบาย

สารละลายบัฟเฟอร์(buffer solution)หมายถึงสารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน หรือคู่เบสของกรดอ่อน หรือหมายถึงสารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนหรือคู่กรดของเบสอ่อนนั้น
สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ PH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อยลงไปการเตรียม ทำได้โดยการเติมกรดอ่อนลงในสารละลายเกลือของกรดอ่อน หรือการเติมเบสอ่อนลงในสารละลายเกลือของเบสอ่อน
ที่มา 
ตอบ ข้อ 3
อธิบาย
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหงิก ย่น หรือมีอาการใบด่าง ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น ต้นเตี้ย แคระแกรน ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่นขนาดใบเล็กกว่าปกติ ต้นพืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าแมลงพวกปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะของโรค โรคนี้เมื่อเกิดแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ นอกจากการป้องกันโดยคัดเลือกกล้าที่ไม่เป็นโรค ซึ่งเกิดจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้จากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูก ทำการอบดินเพื่อทำลายไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะของโรคไวรัส กำจัดแมลงพวกเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เมื่อพบว่ามีต้นที่แสดงอาการผิดปกติดังกล่าวให้ขุดออกไปเผาทำลายทันที และการบำรุงพืชให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยต้านทานเชื้อโรคได้
ที่มา
ตอบ ข้อ 1
อธิบาย
แอนติบอดี (อังกฤษantibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษimmunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือแอนติเจน (antigen)
ที่มา
ตอบ ข้อ 4
อธิบาย
จะเห็นได้ว่าเซลล์สาหร่ายหางกระรอก เซลล์เยื่อหอม และเซลล์ว่านกาบหอยมีรูปร่างและลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน บางอย่างแตกต่างกัน กล่าวคือ เซลล์สาหร่ายหางกระรอกและเซลล์เยื่อหอมมีรูปร่างเป็นช่องๆสี่เหลี่ยมเหมือนกัน แต่เซลล์ว่านกาบหอยมีรูปร่าง 2 แบบ คือแบบช่องคล้ายสี่เหลี่ยม และรูปร่างแบบเมล็ดถั่วซึ่งเรียกว่า เซลล์คุม แต่พืชใต้น้ำจะไม่มีเซลล์คุม เซลล์คุมนี้มีส่วนประกอบที่เหมือนกับเซลล์สาหร่ายหางกระรอกและเซลลืพืชทั่วไป คือมีคลอโรพลาสต์ซึ่งมองเห็นเป็นเม็ดสีเขียวๆเล็กๆจำนวนมากมายภายในเซลล์
ที่มา
ตอบ ข้อ 2

อธิบาย

ดีเอ็นเอ (อังกฤษDNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คนสัตว์พืชเชื้อราแบคทีเรียไวรัสเป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาลฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน(thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน(guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง
ที่มา
ตอบ ข้อ 4

อธิบาย

ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)

ที่มา 
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
  ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมียเท่ากับ 1 ใน 4 โดยโอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และปรกติเท่ากับ 1 ใน 4
  ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเลยที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย
  ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียที่ไม่เหมือนกัน แต่อยู่ในพวกเดียวกัน ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบพ่อเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบแม่เท่ากับ 1 ใน 4 และเป็นปรกติเท่ากับ 1 ใน 4
  ถ้าพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคชนิดที่เกิดจากยีนที่ไม่เหมือนกัน แต่เป็นพวกเดียวกัน และอีกฝ่ายหนึ่งไม่มียีนผิดปรกติ ลูกทุกคนจะมีภาวะแฝง (เป็นพาหะ) ทุกคน
ที่มา

ตอบ ข้อ 4
อธิบาย
มิวเทชันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต 2 ระดับ คือ ระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) และระดับยีนหรือโมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA gene mutation)
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C
ตอบ ข้อ 2
วิธีโคลนนิ่ง ในสัตว์ทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 
     1. การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว (blastomere separation or embryo bisection
)
        1.1 การแยกเซลล์ (blastomere separation) หลังปฏิสนธิตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์จะมีการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด เรื่อยๆไป หากต้องการทำแฝดเราสามารถทำโดยการแยกเซลล์เดี่ยวๆ ออกมา เช่น หากเป็น 2 เซลล์ ก็นำมาแยกเป็น 1:1 หรือหากเป็น 4 ก็แยกเป็น 4 ส่วน 1:1:1:1 เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการเจริญเป็นตัวอ่อนปกติหรือตัวเต็มวัยตัวอ่อนหลังแบ่งต้อง ประกอบด้วยเซลล์จำนวนหนึ่งที่เพียงพอ หากแบ่งแล้วไม่พอเพียงก็ไม่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนที่ปกติหรือตัวเต็มวัยได้จึงเป็น ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ตอบ ข้อ2
• จุลินทรีย์ถูกนำมาใช้เป็นตัวกลางในการผลิตสารทางการแพทย์เอ็นไซม์
• การผลิตโดยจุลินทรีย์อาศัยเทคนิค รีคอมบิแนนท์ ดีเอ็นเอหรือพันธุวิศวกรรม
• ทำโดยการตัดต่อยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารชนิดนั้นๆ จากสิ่งมีชีวิตที่ผลิตสารนั้นได้เข้ากับ
ดีเอ็นเอพาหะ แล้วใส่เข้าไปในจุลินทรีย์ เพื่อหลอกให้จุลินทรีย์สร้างสารเหล่านี้ขึ้นมา โดยมีคุณสมบัติ
เหมือนสารธรรมชาติ

ตอบ ข้อ 3
ลายพิมพิ์ดีเอ็นเอหรือ DNA fingerprint เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการ
ตรวจสอบดีเอ็นเอ เนื่องจากดีเอ็นเอเป็นที่เก็บรวบรวมพันธุกรรม
ที่เฉพาะตัวตนของสิ่งมีชีวิต ลายพิมพิ์ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
หรือแต่ละตัวตนในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ก็จะแสดงความแตกต่าง
ที่เฉพาะตัวให้เห็น แต่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวิธีการ
ที่ทำให้เกิดรายพิมพิ์ดีเอ็นเอด้วย
http://www.tonmai2u.com/topic%20plant%20DNA2.html
ตอบ ข้อ2

ระบบนิเวศ
        สิ่งแวดล้อม คือ สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น   
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no02-44/biosystem.html
ตอบ ข้อ 2

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (primary succession) เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เริ่มจากบริเวณที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่มาก่อน เช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่บนก้อนหินหรือกองทราย การแทนที่ในบริเวณที่เพิ่งเกิดภูเขาไฟระเบิดใหม่ ๆ เป็นต้น โดยการเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะเริ่มจากการที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว เรียกกลุ่มสิ่งมีชีวิตนี้ว่า สิ่งมีชีวิตบุกเบิกพวกแรก (pioneer community) ซึ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตนี้จะช่วยทำให้สภาพพื้นที่บริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตนี้จะช่วยทำให้สภาพพื้นที่บริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น ๆ สามารถเข้ามาอาศัยอยู่ได้ จากนั้นสภาพพื้นที่บริเวณนี้ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสิงมีชีวิตที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่นี้เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มขั้นสุด โดยการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมินี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานมาก อย่างน้อยที่สุดต้องกินระยะเวลานานหลายสิบปีขึ้นไป
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2970
ตอบ ข้อ 4
ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษBiodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (อังกฤษSpeciesสายพันธุ์ (อังกฤษGenetic) และระบบนิเวศ (อังกฤษEcosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
ตอบ ข้ิอ 4
พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3
ตอบ ข้อ 1
เนื่องจากไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมักพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ในน้ำดื่มและน้ำโสโครก ไนโตรเจนอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน เช่น NH4+ NO3- ซึ่งอยู่ในรูปปุ๋ยเคมี หรือเกลือในปัสสาวะ ส่วนอีกชนิดหนึ่ง คือ สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น โปรตีน กรดอมิโน กรดนิวคลิอิค ซึ่งเป็นส่วนประกอบร่างกายของพืช สัตว์ ในอุจาระ และในปุ๋ยคอก ด้วยเหตุที่สารประกอบพวกนี้สามารถเปลี่ยนรูปจากสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ โดยขบวนการที่เรียกว่า Mineralization และสารอนินทรีย์ในรูปต่างๆ ก็สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอินทรีย์ได้ซึ่ง bacteria เป็นตัวการสำคัญในขบวนการ การเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ส่วนฟอสฟอรัสในน้ำนั้นจะอยู่ในรูปต่าง ๆ กันของฟอสเฟต การปนเปื้อนของฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำอาจเกิดจากการเติมลงไปในน้ำปะปาเพื่อป้องกันการตกตะกอน CaCO3 ในภายหลัง นอกจากนี้ยังมาจากการใช้ผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจานที่อยู่ในรูปฟอสเฟต และโพลีฟอสเฟต จากปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร ไนโตรเจน และฟอสเฟตที่พบในแหล่งน้ำนั้นเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ และมักพบว่าเป็น Growth Limiting Nutrient ของแหล่งน้ำ ดังนั้นในการปล่อยน้ำโสโครกหรือน้ำที่ผ่านการบำบัดมาแล้วลงแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยที่ไนโตรเจนและฟอสเฟตยังที่มีอยู่ในปริมาณสูงอาจไปกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของพืชน้ำอย่างรวดเร็ว
http://www.kmutt.ac.th/rippc/nitrate.htm
ตอบ ข้อ 2

1. สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าที่หายากและปัจจุบันมีจำนวนน้อยมากบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้วมีอยู่ 15 ชนิด คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือ เนื้อสมัน เลียงผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อและพะยูนหรือหมูน้ำ
2. สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ทั้งที่ปกติไม่นิยมใช้เป็นอาหารและใช้เป็นอาหารทั้งที่ไม่ใช่ล่าเพื่อการกีฬาและล่าเพื่อการกีฬา ตามที่กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ มากกว่า 200 ชนิด เช่น ค่าง ชะนี อีเห็น ไก่ฟ้า เหยี่ยว ช้างป่า แร้ง กระทิง กวาง หมีควาย อีเก้ง นกเป็ดน้ำ เป็นต้น
บทลงโทษ ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามมิให้ผู้ใดทำการล่ามีไว้ในครอบครอง ค้าขายและนำเข้าหรือส่งออก หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subtiger/subt.htm
ตอบ ข้อ 1,2

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 40 คะแนน
    มีเฉลยให้ 20 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 40 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 80 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 180 คะแนน

    ตอบลบ
  2. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 40 คะแนน
    มีเฉลยให้ 20 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 40 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 80 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 180 คะแนน

    ตอบลบ

ปฏิทิน

Lovely Day

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...