กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554 คะแนน 100 คะแนน

ส่งงาน

ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสืบค้นเพื่อหาแนวทางอธิบายข้อสอบต่อไปนี้
โดยสร้าง page ใหม่ ใน Blog ตนเอง




การกำจัดขยะพลาสติก
การกำจัดขยะพลาสติกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปฝัง (Burial) หรือนำไปถมดิน (Landfill) การนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง (Incineration) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างไรก็ตาม การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่โดยทั่วไปแล้วถูกพิจารณาว่า เป็นทางเลือกที่ให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดทางหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย

ที่มา
ตอบ ข้อ 3

น้ำค้างเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำบนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งมีการแผ่รังสีออกจนกระทั่งอุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้างของอากาศซึ่งอยู่รอบๆ เนื่องจากพื้นผิวแต่ละชนิดมีการแผ่รังสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นในบริเวณเดียวกัน ปริมาณของน้ำค้างที่ปกคลุมพื้นผิวแต่ละชนิดจึงไม่เท่ากัน
น้ำค้างคืออะไร
น้ำค้าง (Dew) คือ หยดน้ำที่เกาะอยู่ตามใบหญ้า ใบไม้ หรือวัตถุที่วางอยู่ใกล้พื้นดิน
น้ำค้างจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ อุณหภูมิของอากาศใกล้พื้นดินต่ำลงถึงจุดน้ำค้าง ทำให้ไอน้ำในอากาศเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ(มักเกิดตอนใกล้รุ่ง)
จุดน้ำค้าง (Dew point) คือ จุดที่อุณหภูมิของอากาศที่อยู่รอบๆวัตถุต่ำลงจนเกิดน้ำค้างเกาะบนวัตถุนั้น

ที่มา
ตอบ ข้อ1


อัตราการเกิดปฏิกิริยา (rate of 
chemical reaction)   ซึ่งปฏิกิริยาหนึ่ง ๆ ภายใน
สภาวะเดียวกัน  จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉพาะคา
หนึ่งซึ่งขึ้นอยูกับธรรมชาติของสารตั้งตน เชน
ปฏิกิริยาของกาซไฮโดรเจนกับกาซฟลูออรีนและ
กาซไนโตรเจน   
การศึกษาอัตราของปฏิกิริยาเคมีเปนวิชาหนึ่งของวิชาเคมี  ไมเพียงแตวัดอัตราของปฏิกิริยา
เทานั้น  ยังศึกษาถึงปจจัยตาง ๆ ที่มีอิทธิพลตออัตราของปฏิกิริยานั้น 

ที่มา

ตอบ ข้อ4

ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
ที่มา

ตอบ ข้อ2

เลขมวล (mass number, A), หรือ เลขมวลอะตอม หรือ เลขนิวคลีออน เป็นผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน (โปรตอนและนิวตรอมเรียกรวมกันว่านิวคลีออน) ในนิวเคลียสอะตอม เพราะโปรตอนและนิวตรอนต่างก็เป็นแบริออน เลขมวล A ก็คือเลขแบริออน B ของนิวเคลียสของอะตอมหรือไอออน เลขมวลจะต่างกันถ้าเป็นไอโซโทปที่ต่างกันของธาตุเคมี เลขมวลไม่เหมือนกับเลขอะตอม (Z) ที่แสดงถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสและสามารถใช้ระบุบธาตุได้ ดังนั้นค่าที่ต่างกันระหว่างเลขมวลและเลขอะตอมจะบ่งบอกถึงจำนวนนิวตรอน (N) ในนิวเคลียส: N=A−Z[1]
เลขมวลจะถูกเขียนอยู่ด้ายหลังหรือมุมบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ เช่น ไอโซปโทปปกติของคาร์บอนคือ คาร์บอน-12 หรือ 12C ซึ่งมี 6 โปรตรอนและ 6 นิวตรอน สัญลักษณ์ไอโซปแบบเต็มรูปแบบจะมีเลขอะตอม (Z) ด้วยอยู่ด้านล่างซ้ายมือของสัญลักษณ์ธาตุ: 6C[2] ซึ่งวิธีนี้ไม่มีความจำเป็นนักจึงนิยมละเลขอะตอมไว้
ที่มา

ตอบ ข้อ 4

อิเล็กตรอน (อังกฤษ: Electron) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบวิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่นไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว 

นิวตรอน (อังกฤษ: Neutron) เป็นอนุภาคที่เป็นกลางไม่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในนิวเคลียส มีจำนวนใกล้เคียงกับโปรตอนแต่อาจแตกต่างกันได้ เช่น ในฮีเลียมมีนิวตรอน 2 ตัว เท่ากับโปรตอน แต่ในเหล็กมี 30 ตัว และในยูเรเนียมมีนิวตรอนถึง 146 ตัว นิวตรอนอาจเกิดจากการอัดอิเล็กตรอนกับโปรตอนดังเช่นในดาวฤกษ์มวลมาก นิวตรอนเกิดจากควาร์กอัพ 1 อนุภาค และควาร์กดาวน์ 2 อนุภาค มีน้ำหนัก 1.67 × 10−27</math> กรัม ซึ่งเท่ากับโปรตอน คำว่า "นิวตรอน" มาจากภาษากรีก neutralที่แปลว่า เป็นกลาง
โปรตอน (อังกฤษproton จากภาษากรีก: πρώτον / proton = เริ่มแรก) คืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเกาะอยู่ในนิวเคลียสหรือใจกลางของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น ไฮโดรเจนเป็นธาตุตัวที่ 1 เบาที่สุดมีโปรตอนตัวเดียว โปรตอนเกิดจากควาร์ก up 2 และ down 1 มีประจุ +1.60x10-19คูลอมบ์ มีน้ำหนัก 1.67x10-27 กิโลกรัม ฮีเลียมมี 2 ตัว เหล็กมี 26 ตัว ยูเรเนียมมี 92 ตัว
ที่มา
ตอบ ข้อ 1



ธาตุซึ่งอยู่ภายในหมู่เดียวกันมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
      1. ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน  จึงทำให้มีสมบัติคล้ายกัน  เช่น ธาตุลิเทียม (3Li มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,1) และธาตุโซเดียม (11Na มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,8,1) ต่างก็มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1  ทั้งสองธาตุจึงมีคุณสมบัติคล้ายกัน  เป็นต้น
      2. ธาตุในหมู่ย่อย A (I A - VIII A) ยกเว้นธาตุแทรนซิชัน มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเลขที่ของหมู่ เช่น ธาตุในหมู่ Iจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
ธาตุในหมู่ II จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ เป็นต้น
      3. ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้นบางธาตุ เช่น Cr Cu เป็นต้น มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
      4. ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานไม่เท่ากัน โดยมีระดับพลังงานเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง เช่น 3Li 11Na1937Rb 55Cs เป็นธาตุที่อยู่ในหมู่ที่ 1 จากบนลงล่าง  มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากับ 2 3 4 5 และ 6 ตามลำดับ
      5. ธาตุในหมู่เดียวกันจากบนลงล่าง  (จากคาบที่ 1 ถึงคาบที่ 7) จำนวนอิเล็กตรอนหรือจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้นดังนี้ 2, 8, 8, 18, 18, 32 ตามลำดับ เช่น ธาตุ หมู่ 1 H(Z=1)  Li(Z=3)  Na(Z=11)  K(Z=19)  Rb(Z=37)  Cs(Z=55)  Fr(Z=87)
ที่มา
ตอบ ข้อ3

อะตอมโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งตามเลขอะตอม ซึ่งเท่ากับจำนวนโปรตอนในอะตอม เลขอะตอมจะเป็นตัวระบุว่าอะตอมนั้นเป็นอะตอมของธาตุอะไร ตัวอย่างเช่น อะตอมของคาร์บอน จะมีโปรตอน 6 ตัว อะตอมที่มีเลขอะตอมเท่ากันจะมีคุณสมบัติร่วมทางกายภาพหลายอย่างและจะมีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมือนกัน ในตารางธาตุอะตอมจะถูกเรียงตามค่าเลขอะตอม
เลขมวล หรือเรียก เลขมวลอะตอม หรือ เลขนิวคลีออน ของธาตุคือ จำนวนรวมของโปรตอน และ นิวตรอนในอะตอม โปรตอนและนิวตรอนแต่ละตัวนั้นจะมีมวล 1 amu จำนวนนิวตรอนในอะตอมนั้นไม่ได้เป็นตัวกำหนดชนิดของธาตุ ธาตุแต่ละชนิดนั้นจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนที่แน่นอน แต่อาจมีจำนวนนิวตรอนที่แตกต่างไปเรียกว่าไอโซโทปของธาตุการ-เรียกชื่อของไอโซโทป นั้นจะขึ้นต้นด้วยชื่อของธาตุและตามด้วยเลขมวล ตัวอย่างเช่น อะตอมของ คาร์บอน-14 มีโปรตอน 6 ตัว และ นิวตรอน 8 ตัว รวมเป็นเลขมวล 14

ที่มา
ตอบ ข้อ 2

สัญลักษณ์นิวเคลียร์
A
     X
Z
                                            A = เลขมวล = จำนวนโปรตอน + นิวตรอน
                                            X = สัญลักษณ์ของธาตุ
                                            Z = เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน
    1. เลขมวล (Mass Number) คือ เลขที่แสดงจำนวนโปรตอนและนิวตรอน
    2. เลขอะตอม (Atomic Number) คือ จำนวนโปรตอนภายในอะตอม

ตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
 16
    O
  8
จากสัญลักษณ์ของธาตุออกซิเจน จะพบว่า ออกซิเจนมีเลขมวล เท่ากับ 16 เลขอะตอม เท่ากับ 8 ซึ่งคำนวณหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมได้ดังนี้ อิเล็กตรอน เท่ากับ 8     โปรตอนเท่ากับ 8     นิวตรอน เท่ากับ 8
ที่มา

ตอบ ข้อ 1

ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษradioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ 
ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
  1. รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ
  2. รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก
  3. รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน

ที่มา
ตอบ ข้อ 3

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 20 คะแนน
    มีเฉลยให้ 10 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 20 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 45 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 95 คะแนน

    ตอบลบ
  2. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 20 คะแนน
    มีเฉลยให้ 10 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 20 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 45 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 95 คะแนน

    ตอบลบ

ปฏิทิน

Lovely Day

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...