กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน
ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด ข้อ 1 - 10 ส่งท้ายชั่วโมงที่เรียน ข้อ 11 - 20 ทำเป็นการบ้านส่งสัปดาห์หน้า
อธิบาย
หมายถึง ห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความคาบเกี่ยวหรือสัมพันธ์กัน   นั่นคือ ในธรรมชาติการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในโซ่อาหาร จะมีความซับซ้อนกันมากขึ้น คือ มีการกินกันอย่างไม่เป็นระเบียบ
ที่มา
ตอบ ข้อ 4

อธิบาย
วัฏจักรน้ำและวัฏจักรออกซิเจน  มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน เพราะต่างประกอบด้วยโมเลกุลออกซิเจนโดยทั่วไป O2ได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสง  แล้วจึงเปลี่ยนเป็นน้ำในขั้นตอนการหายใจที่มีการใช้ O2
ที่มา
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
         หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟรีออน" (Freon) มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มีแหล่งกำเนิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ เป็นต้น
         สาร CFC มีองค์ประกอบเป็นคลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน หากคลอรีนจำนวน 1 อะตอม ทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียว ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง
ที่มา
ตอบ ข้อ 2

อธิบาย
ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899  ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)
 ที่มา
ตอบ ข้อ 4

อธิบาย
ผนังเซลล์ เป็นเยื่อหนา หุ้มอยู่ชั้นนอก ของเยื่อหุ้มเซลลื ผนังเซลล์น ี้โปรโตปลาสซึมสร้างขึ้นมา เพื่อเพิ่มความแข็งแรง พบในแบคทีเรีย เห็ดรา สาหร่าย พืชชนิดต่างๆในแบคทีเรีย ผนังเซลล์มีโพลีแซคคาไรด์เป็นแกน และมีโปรตีน กับไขมันยึดเกาะ ชั้นที่ให้ความแข็งแรง และอยู่ชั้นในสุด เรียกว่า ชั้นมิวรีน หรือเปปติโดไกลแคน (murein หรือ peptidoglycan)เห็ดรา ผนังเซลล์เป็นพวกไคติน ( chitin) ซึ่งเป็นสารประกอบ ชนิดเดียวกันกับเปลือกกุ้ง บางครั้งอาจพบว่า มีเซลลูโลสปนอยู่ด้วย
สาหร่าย ผนังเซลล์ประกอบด้วยเพคติน ( pectin) เป็นส่วนใหญ่ และมีเซลลูโลสประกอบอยู่ด้วย
ในพืช ผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส และสารประกอบเพคติก เช่น แคลเซียมเพคเตด เป็นต้น ผนังเซลล์พืชที่อยู่ติดๆ กัน ถึงแม้จะหนา และแข็งแรง แต่ก็มีช่องทางติดต่อกันได้ เป็นทางติดต่อของไซโตปลาสซึมทั้ง 2 เซลล์ ที่เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา ( plasmodesmata)
ที่มา
ตอบ ข้อ 1

อธิบาย
สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution) หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง เรียกว่า plasmoptysis
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรงในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
ที่มา
ตอบ ข้อ 1

อธิบาย
การแพร่สารแบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) คือการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปจนถึงบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ แต่ต้องอาศัยตัวพาเป็นตัวกลาง (Carrier) ในการแพร่ ซึ่งมักเป็นสารจำพวกโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเช่นกรดอะมิโนซึ่งพบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงน้ำตาลกลูโคส, คาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต การแพร่แบบนี้ใช้การเคลื่อนที่แบบบราวนิงในการแพร่
การแพร่แบบฟาซิลิเทตไม่ต้องการพลังงานในการแพร่ตรงกันข้ามกับการลำเลียงสารแบบแอคทีฟทรานสปอร์ตที่ต้องใช้พลังงาน
ที่มา
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
ในคนปกติจะตรวจพบได้บ้างโดยพบเป็นสีเหลืองๆ
 - พบได้บ้าง หลังการออกกำลังกาย ความเครียด
ทานอาหารพวกเนื้อสัตว์มาก
   ช่วงใกล้มีประจำเดือน
 - ในคนผิดปกติ เกี่ยวกับไต และระบบทางเดินปัสสาวะ จะให้ผลบวก โดยมีระดับ
   ความเข้มตั้งแต่เหลือง-เขียว ไปถึง เขียว-น้ำเงิน
การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงการที่มีโปรตีนมากกว่าปกติในปัสสาวะอาจเป็น เครื่องบ่งชี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรคที่มีพยาธิสภาพภายในไต ไตอักเสบเรื้อรังและเฉียบพลัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ การสัมผัสสารโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท แคดเมียม มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อไต มีผลทำให้โปรตีนออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก โรคเบาหวานที่เริ่มมีโรคแทรกซ้อน การตั้งครรภ์ระยะท้ายๆ มีไข้
  • การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นช่วงๆ ชั่วครั้ง ชั่วคราวนั้น มักจะเกิดจากภาวะการทำงานของร่างกายมากกว่าที่จะเป็นโรคไต เช่น มีการออกกำลังกายหักโหมเกินไป ยืนเดินนานๆ อยู่ในภาวะเครียดวิตกกังวล การเก็บปัสสาวะในขณะที่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในเพศชาย การเก็บปัสสาวะในขณะที่มีรอบเดือน เป็นต้น
  • การรายงานผลจะรายงานเป็น Trace , 1+ , 2+ , 3+ และ 4+ หมายถึง พบโปรตีนในปริมาณน้อยๆ ไปจนถึงปริมาณมากตามลำดับ
ที่มา
ตอบ ข้อ 1

อธิบาย
Skin of Seawater Teleost (ผิวหนังของปลาทะเล)
ผิวหนังของปลาทะเล มีลักษณะเป็น Impermeable เช่นกัน แต่ไม่ใช่น้ำ เป็น เกลือ (Salt) แทน เพราะภายในร่างกาย Body Fluid ของปลาทะเล มีลักษณะเป็น Hypotonic กับน้ำทะเลที่อาศัยอยู่ ทำให้เกลือสามารถเข้ามาภายในร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ผิวหนังของปลาทะเลจึงต้อง Impermeable เกลือ
 ที่มา
ตอบ ข้อ 4

 อธิบาย
Contractile vacuole ออร์แกแนลที่มีลักษณะเป็นถุง พบในโพรโทซัวน้ำจืดหลายชนิดเช่น อะมีบา พารามีเซียม ทำหน้าที่ขับถ่ายน้ำที่มากเกินความต้องการ และของเสียที่ละลายน้ำออกจากเซลล์และควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ให้พอเหมาะด้วย
ที่มา
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆในร่างกาย
         ในร่างกายคนมีน้ำอยู่ประมาณ 65% - 70% ซึ่งร่างกายจะต้องรักษาดุลภาพภาพนี้ไว้ การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกายทำได้โดยการควบคุมปริมาณน้ำที่รับเข้าและที่ขับออกจากร่างกาย ซึ่งมีช่องทางและผ่านกระบวนการต่างๆ
ที่มา
ตอบ ข้อ 1

อธิบาย
สิ่งใดในนมแม่ที่ช่วยปกป้องลูกน้อย
มีองค์ประกอบหลายอย่างในน้ำนมแม่ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิต้านทานของลูก เพราะเป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่ลูกต้องการอย่างครบถ้วนและมีแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อร่างกายลูก ทั้งนี้ รายการสารอาหารที่มีประโยชน์ในนมแม่มีมากมายจนนับไม่ถ้วน ดูเม็กซ์จึงเลือกองค์ประกอบหลักๆ ที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างภูมิต้านทานมาให้คุณแม่ได้ทราบดังต่อไปนี้

แอนติบอดี้
น้ำนมแม่ประกอบไปด้วยแอนติบอดี้ที่รู้จักกันดีในชื่อ อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) โดยมีรูปแบบพื้นฐานสำคัญ 5 ชนิด คือ IgG, IgA, IgM, IgD และ IgE โดยชนิดที่มีอยู่มากที่สุดคือ IgA ซึ่งเป็นรูปแบบโดยเฉพาะที่ทราบกันดีว่าเป็นซีครีทอรี IgA พบมากในลำไส้และระบบทางเดินหายใจ
แอนติบอดี้เหล่านี้ ประกอบไปด้วยโมเลกุล IgA สองโมเลกุลอยู่ร่วมกัน เรียกว่าสารประกอบคัดหลั่งที่ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันโมเลกุลแอนติบอดี้จากการถูกย่อยสลายโดยกรดในกระเพาะอาหารและเอ็นไซม์ย่อยอาหารในกระเพาะและลำไส้ของลูก
แม่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดี้เมื่อสารก่อโรคเข้าสู่ร่างกาย จากการรับประทาน สูดดม หรือวิธีการอื่นๆ แอนติบอดี้แต่ละชนิดที่แม่สร้างขึ้นนั้นมีความสำคัญพิเศษแบบเฉพาะเจาะจงต่อแอนติเจน นั่นหมายความว่า แอนติบอดี้จะเข้าไปยึดติดกับแอนติเจนทันทีโดยไม่เสียเวลาจู่โจมกับสารอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากแม่มีการสร้างแอนติบอดี้เฉพาะกับเชื้อก่อโรคเพื่อให้ลูกได้รับการปกป้อง และต่อต้านกับสารก่อโรค ซึ่งเป็นไปได้อย่างมากที่ลูกจะต้องเผชิญต่อเชื้อก่อโรคในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด
แอนติบอดี้เหล่านี้ยังมีความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ จะไม่จู่โจมแบคทีเรียสุขภาพที่พบในลำไส้ แต่ทั้งนี้ นักวิจัยยังไม่พบว่าแอนติบอดี้ในระบบภูมิต้านทานของร่างกายแม่นั้นมีความสามารถในการแยกแยะและปฎิบัติต่อแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียที่มีประโยชน์ได้อย่างไร
**อิมมูโนโกลบิน เป็นแอนติบอดี้ที่ยึดจับกับแอนติเจนและทำลายแอนติเจนนั้นเพื่อปกป้องร่างกาย

ที่มา
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
วัคซีน (อังกฤษVaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ที่มา
ตอบ ข้อ 2

อธิบาย
สัตว์ประเภทต่างๆ จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยตรงด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสด้วยอวัยวะที่เรียกว่าต่อมบ่งเพศ (gonad) สัตว์สปีชีส์หนึ่งๆ ที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศมีรูปแบบการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
ถึงแม้ใช้อวัยวะที่แตกต่างกันแต่กระบวนการนั้นยังมีรูปแบบที่เหมือนกัน กล่าวคือ เซลล์ตั้งต้นจะเรียกว่าแกมีโทโกเนียม (gametogonium) จะแบ่งตัวแบบไมโทซิสเข้าสู่ช่วงแกมีโทไซต์ระยะแรก (primary gametocyte) และแบ่งตัวแบบไมโอซิสเข้าสู่แกมีโทไซต์ระยะที่สอง (secondary gametocyte) แล้วแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอีกครั้งจนได้แกมีทิด (gametid) จำนวน 4 เซลล์ต่อเซลล์แม่ 1 เซลล์ สุดท้ายแกมีทิดจะเจริญไปเป็นสเปิร์มหรือไข่ ซึ่งเป็นแกมีต (gamete) ในขั้นตอนสุดท้าย

ที่มา
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
สารพันธุกรรม (อังกฤษgenetic materials) คือ สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลรหัสสำหรับการทำงานของของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เอาไว้ เช่น เมื่อสิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ จะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอสิส (meiosis) ก็จะมีการแบ่งสารพันธุกรรมนี้ไปยังเซลล์ที่แบ่งไปแล้วด้วย โดยยังคงมีข้อมูลครบถ้วน
สารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ซึ่งพบได้จาก นิวเคลียสของเซลล์ เรียกรวมว่า กรดนิวคลีอิค (Nucleic acids) โดยคุณสมบัติทางเคมีแบ่ง กรดนิวคลีอิคลงได้เป็นสองชนิดย่อย คืออาร์เอ็นเอ (RNA - Ribonucleic acid) และ ดีเอ็นเอ (DNA - Deoxyribonucleic acid) สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมเป็น ดีเอ็นเอ, ยกเว้น ไวรัสบางชนิดเป็น อาร์เอ็นเอ (ไวรัสส่วนมาก มีสารพันธุกรรมเป็น ดีเอ็นเอ)
รหัสบนสารพันธุกรรม หากมีการถอดรหัส (Transcription) ออกมาได้ เรียกรหัสส่วนนั้นว่า ยีน (Gene)

ที่มา

อธิบาย
ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
          การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคน ทำได้โดยการสืบประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะที่ต้องการศึกษาหลายๆชั่วอายุคน ดังที่นักเรียนทำในกิจกรรม 4.1 จากนั้นนำมาเขียนแผนผังแสดงบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ศึกษาเรียกแผนผังดังกล่าวว่า เพดดิกรี(pedigree)โดยใช้สัญลักษณ์แทนบุคคลต่างๆทั้งผู้ที่แสดงและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษา หากลักษณะใดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพดดิกรีจะช่วยให้สังเกตเห็นแบบแผนการถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยให้บอกได้ว่าลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย เป็นลักษณะพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศใดเพศหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่  นักเรียนจะได้ศึกษาตัวอย่างเพดดิกรีของลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ต่อไป
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนเพดดีกรี 

ที่มา
http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24
ตอบ ข้อ 3

อธิบาย
  • ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรค
  • ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน โอกาสที่ลูก จะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และปกติเท่ากับ 1 ใน 4
  • ถ้าพ่อและแม่ เป็นพาหะที่ไม่เหมือนกัน แต่อยู่ในพวกเดียวกัน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบพ่อเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบแม่เท่ากับ 1 ใน 4 และเป็นปกติเท่ากับ 1 ใน 4
  • ถ้าพ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค ชนิดที่เกิดจากยีนที่ไม่เหมือนกัน แต่เป็นพวกเดียวกัน เช่น เบต้า-ธาลัสซีเมียด้วยกัน หรือแอลฟ่าธาลัสซีเมียด้วยกัน และอีกฝ่ายไม่มียีนผิดปกติ ลูกทุกคน จะมีภาวะแฝงเท่านั้นไม่เป็นโรค
  • ถ้าพ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย พวกเดียวกัน ลูกครึ่งหนึ่งจะเป็นพาหะ อีกครึ่งหนึ่งเป็นโรค
   โอกาสหรืออาจจะเรียกว่า อัตราเสี่ยงที่เกิดในลูก ที่จะเป็นโรค เป็นพาหะหรือเป็นปกติ ในแต่ละครอบครัว จะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์ บางครอบครัวที่พ่อและแม่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ทั้งคู่ มีลูก 7 คน เป็นโรคเพียงคนเดียว แต่บางครอบครัวมีลูก 3 คน เป็นโรคทั้ง 3 คน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ว่าลูกที่เกิดมาในแต่ละครรภ์ จะรับยีนธาลัสซีเมีย ไปจากพ่อและแม่ หรือไม่ ทั้งๆ ที่อัตราเสี่ยงของทั้งสองครอบครัวนี้เท่ากัน และทุกครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4
ที่มา
ตอบ ข้อ 3


อธิบาย
ยีน ที่ทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมทางโลหิตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการโลหิตจางมาแต่กำเนิด มีดีซ่านร่วมด้วย ยีน ที่ทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย เป็นยีนผิดปกติที่มีผลทำให้การสร้างพอลิเพปไทล์ในฮีโมโกลบินผิดปกติ
ยีน ที่ทำให้เกิดโรคแอลฟาธาลัสซีเมียเป็นยีนด้อย
ที่มา
ตอบ ข้อ 1

อธิบาย
ผู้ชาย  มีโอกาสเกิดจาการบอดสีสีจากพันธุกรรม  มากกว่าผู้หญิง เพราะว่าโครโมโซมเพศของหญิงทั้งคู่จะมีรูปร่างลักษณะและขนาดเหมือนกันที่เรียกว่า  XX  ส่วนโครโมโซมเพศชายจะมีลักษณะต่างกันเป็น  XY  ยีนที่ควบคุมการมองเห็นสีจะอยู่บนโครโมโซม  X  ดังนั้นเมื่อเพศชายซึ่งมีโครโมโซม  X  เพียงแท่งเดียวและเมื่อได้รับยีนด้อยหรือตาบอดสี ก็จะแสดงลักษณะตาบอดสี  ส่วนผู้หญิงมีโครโมโซม  X อยู่ 2 แท่ง ถ้ามียีนด้อยอยู่  1  แท่ง  ก็ยังไม่แสดงอาการของตาบอดสีให้ปรากฏทั้งนี้เพราะโครโมโซม  X  อีกแท่งหนึ่งยังเป็นยีนเด่น หรือตาปกติ  จึงข่มการแสดงออกของยีนด้อย  ดังนั้นเพศหญิงจึงไม่มีโอกาสตาบอดสี  แต่จะเป็นพาหะของยีนตาบอดสี
ที่มา
ตอบ ข้อ 1

อธิบาย

คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O


ที่มา
ตอบ ข้อ 3

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 40 คะแนน
    มีเฉลยให้ 20 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 40 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 80 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 180 คะแนน

    ตอบลบ
  2. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 40 คะแนน
    มีเฉลยให้ 20 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 40 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 90 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 190 คะแนน

    ตอบลบ

ปฏิทิน

Lovely Day

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...