กิจกรรม 17-21 มกราคม 2554

ส่งงาน
ตอบ ข้อ2
ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวันและผลต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเคมีเกิดจากสารทำปฏิกิริยากันแล้วได้สารใหม่ ซึ่งสารนั้นคือผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ รอบๆ ตัวเรามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าปฏิกิริยาเคมีมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างยิ่ง
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
1. ฝนกรด เมื่อเกิดฝนตกลงมา น้ำ (H2O) จะละลายแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศตามธรรมชาติ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
เมื่อน้ำละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จะทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ดังสมการ
เมื่อน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดไหลไปตามภูเขาหินปูนก็จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ในหินปูน และได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Ca(HCO3)2) ออกมา ดังสมการ
เมื่อสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไหลซึมไปตามเพดานถ้ำ น้ำจะระเหยไปเหลือแต่หินปูนเกาะจนกลายเป็นหินย้อยที่เพดานถ้ำ ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ เมื่อน้ำระเหย ไปจะกลายเป็นหินงอกต่อไป
สรุปปฏิกิริยาเคมีในการเกิดหินย้อยและหินงอก
 ที่มา
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/23.htm


ตอบ ข้อ4
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
ที่มา
ตอบ ข้อ4
ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO)    เป็นก๊าซเฉื่อยมีคุณสมบัติเป็นยาสลบ เป็นก๊าซ
ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น  ในธรรมชาติทั่วไปพบในปริมาณน้อยกว่า 0.5 ppm.ละลายน้ำได้เล็กน้อย ส่วนไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2) เป็นก๊าซสีน้ำตาล ถ้ามีจำนวนมากจะมองเห็น  ก๊าซทั้งสองชนิดจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้แก่ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิด หรืออาจเกิดจากกลไกของจุลินทรีย์ และนอกจากนี้อาจเกิดจากมนุษย์เช่น จากอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตกรดไนตริก และกรดกำมะถัน และโรงงานผลิตวัตถุระเบิด และการเผาไหม้เของเครื่องยนต์ เป็นต้น
            ที่มา

ตอบ ข้อ1
เลขมวล เลขอะตอมและสัญลักษณ์ของนิวเคลียร์
นิวคลีออน คือ อนุภาคที่รวมตัวกันอยู่ภายใต้ นิวเคลียส ซึ่งหมายถึง โปรตอน (proton, ) และนิวตรอน (Neutron,  ) ในนิวเคลียสมีสัญลักษณ์เป็น
                         โดยที่      X เป็นสัญลักษณ์ของนิวเคลียสใดๆ
                                      A เป็นเลขมวล (Atom mass number) หมายถึงจำนวนนิวคลีออนทั้งหมดที่อยู่ในนิวเคลียส
                                      Z เป็นเลขอะตอม หมายถึง จำนวนโปรตอนภายใน Nucleus
นิวไคลด์ (Nuclide) หรือธาตุ หมายถึงนิวเคลียสที่มีสมบัติบางอย่างเหมือนกัน สัญลักษณ์ของนิวไคลด์แทนด้วย  โดยที่ X แทน
นิวไคลด์ใดๆ A แทนเลขมวล Z แทนเลขอะตอม เช่น 
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง นิวไคลด์หรือธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากันแต่มีเลขมวลต่างกัน เช่น   , 
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/node/49991


ตอบ ข้อ2
การจัดเรียงอิเล็กตรอน หมายถึงอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมจะมีการจัดเรียงตามระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย โดยมีการแบ่งชั้นที่แน่นอน เรียงไปเรื่อยๆ ตามเลขอะตอม

ระดับพลังงานหลัก

เป็นระดับพลังงานชั้นใหญ่ๆ ของอิเล็กตรอน ระดับพลังงานชั้นในสุดหรือระดับพลังงานที่ n=1 จะมีอิเล็กตรอนได้มากที่สุด 2 ตัว ระดับชั้นถัดมา 2,3,4
จะมีได้มากที่สุด 8,18 และ 32 ตามลำดับ โดยระดับพลังงานที่มากกว่า 4 ขึ้นไปก็จะมีได้มากที่สุดเพียง 32 ตัวเท่านั้น
ที่มา


ตอบ ข้อ3
ตารางธาตุในปัจจุบันแบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถว เรียกว่า หมู่ และยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม A กับ B โดยกลุ่ม A มี 8 หมู่ คือ หมู่ IA ถึงหมู่ VIIIA ซึ่งธาตุในหมู่ IA เรียกว่า ธาตุโลหะแอลคาไล หมู่ IIA เรียกว่า ธาตุโลหะแอลคาไลเอิร์ท หมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน และหมู่ VIIIA เรียกว่า แก๊สเฉื่อยหรือแก๊สมีตระกูล ส่วนกลุ่ม B ก็มี 8 หมู่เช่นกันคือ หมู่ IB ถึงหมู่ VIIIB แต่หมู่ VIIIB จะมี 3 แถว ซึ่งธาตุในกลุ่ม B ทั้งหมดเรียกว่าธาตุแทรนซิชัน
ธาตุที่อยู่ในแนวนอนมี 7 แถว แต่ละแถวจัดเรียงธาตุตามลำดับของเลขอะตอม และเรียกแถวในแนวนอนนี้ว่า คาบ ซึ่งจำนวนของธาตุในคาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คาบที่ 2 และ 3 มีคาบละ 8 ธาตุ คาบที่ 4 และ 5 มีคาบละ 18 ธาตุ คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ แบ่งเป็นกลุ่มแรก 18 ธาตุ คือ Cs ถึง Rn และกลุ่มหลัง 14 ธาตุ คือ Ce ถึง Lu โดยธาตุในกลุ่มหลังนี้เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ สำหรับคาบที่ 7 จะแบ่งธาตุเป็นสองกลุ่มเหมือนคาบที่ 6 โดยธาตุในกลุ่มแรกจะมีการค้นพบเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ส่วนกลุ่มหลังมี 14 ธาตุคือ Th ถึง Lr เรียกว่า กลุ่มธาตุแอกทิไนด์
ที่มา

ตอบ ข้อ3
เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ

ที่มา

ตอบ ข้อ2
 ธาตุหมู่ 2A  หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ  (Alkaline-earth Metals)          ธาตุหมู่ 2A  หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ  มีลักษณะเป็นโลหะเนื้ออ่อน  แต่มีความแข็งและมีความหนาแน่นมากกว่าธาตุหมู่ 1A  ส่วนใหญ่มีสีเงิน  ทำปฏิกิริยาได้ดีกับกับธาตุหมู่ 7A  และน้ำ  แต่ปฏิกิริยามีความรุนแรงน้อยกว่าธาตุหมู่ 1A  ธาตุหมู่ 2A  จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ชั้นนอกสุดเพียง 2 อนุภาค  จึงถูกดึงหรือสูญเสียอิเล็กตรอนไปได้ง่าย  ดังนั้นธาตุหมู่ 2A  จึงมีสมบัติความเป็นโลหะที่ดี  ตัวอย่างของธาตุหมู่
 2A  ที่ควรรู้จัก  ได้แก่
          -  เบริลเลียม (Be)  เป็นโลหะซึ่งมีสีเทาเหมือนเหล็ก  แข็งแรง  น้ำหนักเบา  แต่เปราะ  มักใช้สำหรับเป็นโลหะผสมเพื่อทำให้โลหะแข็งแกร่งขึ้น
          -  แมกนีเซียม (Mg)  เป็นธาตุที่พบได้มากในธรรมชาติ  โดยพบว่าเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2%  และเป็นธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3  นิยมใช้วัตถุดิบในการผลิตโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม
          -  แคลเซียม (Ca)  เป็นโลหะสีเทาอ่อน  มักใช้ในการสกัดธาตุยูเรเนียม (U)  เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง  เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างร่างกายของสิ่งมีชีวิต  เช่น  กระดูก  และฟัน  เป็นต้น
          -  แบเรียม (Ba)  เป็นธาตุที่มีอยู่น้อยในธรรมชาติ  มีสมบัติคล้ายกับธาตุแคลเซียม  สามารถทำปฏิกิริยากับอากาศได้ดี  ทำให้สามารถพบได้เฉพาะในลักษณะสารประกอบเท่ากัน  มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการขุดเจาะน้ำมัน  การทำเหมือนแร่  การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทางการแพทย์  เป็นต้น
ที่มา

ตอบ ข้อ3
ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียรเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า  82
          กัมมันตภาพรังส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
          ในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น

(ธาตุยูเรเนียม)      (ธาตุทอเลียม) (อนุภาคแอลฟา)
           จะเห็นได้ว่า การแผ่รังสีจะทำให้เกิดธาตุใหม่ได้  หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุเดิม  และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุ  มีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน  เรียกว่า ครึ่งชีวิตของธาตุ
           ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปและสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้
ที่มา

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 18 คะแนน
    มีเฉลยให้ 9 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 18 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 38 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ให้ 83 คะแนน

    ตอบลบ
  2. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 18 คะแนน
    มีเฉลยให้ 9 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 18 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 35 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ให้ 80 คะแนน

    ตอบลบ

ปฏิทิน

Lovely Day

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...